ครีมกันแดด |
|
||||||
![]() |
|||||||
ฮัลโหล "รังสียูวี" ภัยร้ายใกล้ตัว | |||||||
![]() ช่วงหน้าร้อนอย่างนี้ สาวๆ คงต้องหลบแดดกันเป็นพิเศษใช่ไหมคะ! โดยเฉพาะเมืองไทยก็ดูเหมือนจะมีหลายฤดูใน 1 วัน ทั้งเดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก ยิ่งตอนนี้แสงแดดก็ทวีคูณความแรงมากขึ้น โดยภายใต้แสงแดดนี้ ก็มีรังสียูวีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแอบซ่อนอยู่ ซึ่งสามารถพบได้ทุกที่ทั้งกลางแจ้งอย่างในท้องถนน ป้ายรถเมล์ ฯลฯ หรือในที่ร่มอย่างอาคารสำนักงาน ร้านอาหาร ในบ้านพัก ฯลฯ ซึ่งหลายๆ คนอาจคิดว่าการหลบในที่ร่มหรือการปกปิดร่างกายส่วนที่ไม่ต้องการให้โดนแดดนั้น สามารถกันรังสียูวีได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ข้อมูลจากสำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา (http://ozone.tmd.go.th บทความเรื่อง “ถูกหรือผิด กับทัศนคติต่อรังสีอัลตราไวโอเลต”) ระบุว่า แม้เราจะไม่รู้สึกร้อน ก็ใช่ว่าจะไม่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเลย นอกจากนี้ แม้สภาพอากาศจะมีเมฆหมอกหรือไม่มีแดดจัด รังสีจากดวงอาทิตย์ก็สามารถผ่านทะลุเมฆหมอกได้ถึง 80% และมีความเข้มพอที่จะทำให้ผิวหนังเกรียมได้ แม้จะอยู่ในร่มและไม่ได้รับรังสีโดยตรง จึงยังควรป้องกันหรือหลีกเลี่ยง หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในเวลาทำงาน ยิ่งควรป้องกันให้มากเป็นพิเศษ ทำไมเราต้องป้องกันตัวเองจากรังสียูวี รังสียูวีหรืออัลตราไวโอเลต เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น โดยแบ่งตามความยาวคลื่นได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1.UV-C มีพลังงานมากที่สุดและสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้อย่างร้ายแรง แต่โชคดีที่รังสีชนิดนี้ถูกดูดซับด้วยโอโซนในชั้นบรรยากาศก่อนที่จะมาถึงพื้นโลก 2.UV-B ตัวอักษร B มาจากคำว่า Burning ซึ่งหมายถึงการเผาไหม้ ดังนั้นรังสี UV-B จึงเป็นสาเหตุสำคัญของอาการผิวไหม้ และยังทำให้มีผลต่อสายตาเหมือนมีทรายเข้าตา หรือถ้ารุนแรงอาจทำให้เป็นโรคต้อกระจกได้ 3.UV-A ตัวอักษร A มาจากคำว่า Aging หมายถึงความแก่ รังสี UV-A สามารถแทรกซึมลึกลงถึงผิวชั้นใน จึงทำให้ผิวแก่ก่อนวัย และยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งผิวหนัง และจากบทความของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย (http://www.dst.or.th เรื่อง “รู้จักครีมกันแดด”) ยังชี้ให้เห็นว่า UV-A ทะลุผ่านกระจกได้ แม้จะนั่งอยู่ในรถที่มีแอร์เย็นฉ่ำ หรืออยู่ในอาคารสำนักงานก็สามารถโดนรังสีนี้ได้เหมือนกัน เพราะยูวีไม่เกี่ยวอะไรกับความร้อนเลย รังสียูวีไม่ได้มีอยู่ในแสงแดดอย่างเดียว ถ้าคิดว่ารังสียูวีมีอยู่ในแสงแดดอย่างเดียวนั้น ขอบอกว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะตามที่กล่าวไปในตอนต้นว่าแม้อยู่ในที่ร่มเราก็ยังเลี่ยงที่จะสัมผัสรังสียูวีไม่ได้ เนื่องจากรังสียูวีสามารถทะลุผ่านกระจกเข้ามาได้ รวมทั้งในบ้านหรือในออฟฟิศก็มีแหล่งกำเนิดแสงหรือความร้อน อย่าง หลอดไฟ จอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร แสงไฟจากเครื่องฉายแผ่นใส เครื่องฉายแอลซีดี ไฟส่องสินค้า ไฟประดับเวที ฯลฯ จะเห็นได้ว่าทุกอาชีพก็เสี่ยงกับการสัมผัสรังสียูวีได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัท คุณครู ดารา แม่ค้า พริตตี้ ฯลฯ ซึ่งรังสียูวีเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลเสียต่อผิวหนัง ทั้งทำให้ผิวแดง ไหม้เกรียม เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น หรือเกิดโรคทางผิวหนังและสายตาได้หากได้รับยูวีสะสมเป็นเวลานาน และที่สำคัญถ้าเราได้รับทั้ง UV-A และ UV-B พร้อมๆ กันเป็นระยะเวลานาน ก็สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ การใช้ชีวิตอยู่กับรังสียูวี เมื่ออ่านถึงจุดนี้ สาวๆ หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่าเราจะทำอย่างไรกับเจ้ารังสียูวีนี่ดีหละ ซึ่งจริงๆ แล้วเราสามารถป้องกันหรือช่วยลดการรับรังสียูวีได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดเป็นประจำทุกวันทั้งผิวหน้าและผิวกาย นอกจากนี้ควรจะรับประทานผักและผลไม้เพื่อช่วยบำรุงผิวจากภายใน รวมทั้งหลีกเลี่ยงมิให้สายตามองหรืออยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดแสงโดยตรงเป็นเวลานาน โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มั่นใจได้ว่าสามารถปกป้องได้ทั้ง UV-A และ UV-B ซึ่งรังสีทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถป้องกันได้ด้วยสารกันแดดต่างชนิดกัน เริ่มจาก
คิดใหม่ทำใหม่กับรังสียูวี ผลการสำรวจทัศนคติเกี่ยวกับรังสียูวีของยูนิลีเวอร์ พบว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการป้องกันรังสียูวี และควรทำความเข้าใจใหม่ในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) ผู้หญิง 94% เชื่อว่าเสื้อยืดและร่มสามารถปกป้องผิวจากรังสียูวีได้เทียบเท่ากับโลชั่นที่มีค่า SPF 10 หรือมากกว่า ซึ่งในความเป็นจริง ทั้งเสื้อยืดและร่มป้องกันรังสียูวีได้เพียงประมาณ SPF 5 เท่านั้น 2) ผู้หญิงมากถึง 71% ยังเข้าใจผิดในเรื่องค่า SPF เช่น หากทาโลชั่นที่มีค่า SPF 5 แล้วตามด้วยโลชั่นที่มีค่า SPF10 ส่วนใหญ่เข้าใจว่าผิวจะได้รับการปกป้องที่ SPF 15 ในขณะที่ผลลัพธ์ที่ถูกต้องคือผิวจะได้รับการปกป้องแค่ SPF 10 เท่านั้น 3) เมื่อต้องออกจากบ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังได้แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวที่มีค่า SPF อย่างน้อย 15 ทั่วเรือนร่าง เป็นประจำทุกวัน ไม่เฉพาะแค่ผิวหน้าเท่านั้น 4) ค่า SPF เป็นการบอกระยะเวลาที่ผิวของคุณจะสามารถอยู่กลางแดดได้โดยไม่ถูกทำร้าย เช่น ถ้าผิวของคุณสามารถอยู่กลางแสงแดดได้นาน 10 นาทีก่อนถูกแผดเผา ดังนั้นเมื่อคุณใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 24 แสดงว่าหลังการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ผิวของคุณสามารถทนต่อแสงแดดได้นานถึง 240 นาที (24 เท่า) ก่อนได้รับผลกระทบจากแสงแดด 5) ผิวสามารถคล้ำลงได้แม้โดนแดดในช่วงเวลาสั้นๆ แค่นาทีเดียว 6) ร่มทั่วไปที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ไม่สามารถป้องกันรังสียูวีได้มากอย่างที่คิด โดยเฉลี่ยจะป้องกันเพียง SPF 6.5 ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถป้องกันรังสียูวีที่สะท้อนจากพื้นผิวที่แสงตกกระทบได้ เช่น แสงสะท้อนจากกระจก หรือคอนกรีต 7) ผิวเราสัมผัสกับรังสียูวีเกือบตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะมีรังสียูวีที่ส่องมาจากดวงอาทิตย์ และสะท้อนมากระทบกับเราในขณะที่เราทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในชีวิตประจำวัน เช่น ขณะขับรถยนต์ หรือขณะเดินข้ามถนน ซึ่งช่วงกิจกรรมเหล่านี้กินเวลามากถึง 80% ของช่วงชีวิตเราเลยทีเดียว 8) เสื้อยืดที่เราสวมใส่โดยทั่วไปจะให้การปกป้องผิวเทียบเท่า SPF 5 เท่านั้น 9) รังสียูวีสามารถสะท้อนในผิวน้ำ ทราย หิมะ หรือคอนกรีตได้ ดังนั้นร่มที่คุณกางอาจไม่สามารถปกป้องผิวจากแสงแดดหรือรังสียูวีได้มากอย่างที่คุณคิด แม้จะเคลือบสารป้องกันรังสียูวีก็ตาม 10) รังสียูวีสามารถทะลุผ่านเมฆ หมอก และควันได้ ฉะนั้นคุณควรทาโลชั่นที่มีค่า SPF ทั่วเรือนร่างเป็นประจำทุกๆ วัน แม้ในวันที่ท้องฟ้ามืดครึ้ม 11) ไม่ว่าจะอยู่ในที่ร่ม เช่น ในรถ ในที่ทำงาน ในบ้าน หรือแม้แต่ในเครื่องบิน คุณก็ต้องปกป้องผิวด้วยโลชั่นที่มีสารป้องกันรังสียูวี เพราะรังสียูวีสามารถทะลุผ่านหน้าต่างและกันสาดได้เช่นกัน. ขอบคุณข้อมูลจาก... http://www.thaipost.net/node/40017 |
|||||||
|
|||||||
![]() |